วัตถุประสงค์

ความรู้เรื่อง กฎหมาย เป็นส่วนหนึ่งของสาระหน้าที่พลเมือง และเป็นกฎหมายพิ้นฐานที่คนไทยทุกคนควรทราบและปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สินส่วนตัวและสินสมรสแตกต่างกันอย่างไร

สินส่วนตัว

         1) ทรัพย์สินที่ชายและหญิงฝายหนึ่งฝ่ายใดมีอยู่ก่อนสมรส
         2) เป็นเครื่องใช้หรือเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น เครื่องแต่งกาย  เครื่องประดับที่ผู้นั้นใช้ควรแก่ฐานะของตนและให้รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดด้วย
         3) ระหว่างการสมรสหรือขณะเป็นสามีภรรยากันอยู่นั้น  หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้มรดกหรือได้รับการให้โดยการเสน่ห์หาทรัพย์ที่ได้นั้นเป็นสินส่วนตัว
         4) ของหมั้น

สินสมรส

         1) ทรัพย์สินที่สามีและภรรยาได้มาระหว่างการสมรส  เช่น เงินเดือน  เงินโบนัส  เงินประจำตำแหน่ง
         2) สามีและภรรยาได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมยกให้โดยระบุว่าเป็นสินสมรส
         3) ดอกผลอันเพิ่มจากสินส่วนตัว  เช่น  กำไร  ค่าเช่า  เงินปันผล



ตามกฎหมายการสมรสมีเงื่อนไขสำคัญอย่างไร

          1) ชายหญิงต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์  เว้นแต่มีเหตุอันควรที่ศาลอนุญาตให้สมรสได้  หากผู้เยาว์จะทำการสมรสต้องได้รัความยินยอมจากบิดามารดา  ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครอง
          2) ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นคนวิกลจริต
          3) ชายและหญิงต้องไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงต่อกันหรือพี่น้องกัน
          4) ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
          5) ชายและหญิงจะทำการสรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้วมิได้
          6) ชายและหญิงทั้งสองคนต้องยินยอมเป็นสามีภรรยากัน
          7) หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน  นับแต่ขาดจากการสมรสเดิมได้ผ่านพ้นแล้ว

Cr.งานแต่งงานโบและเอก



ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้ปกครองแตกต่างกันอย่างไร

ผู้แทนโดยชอบธรรมคือ ผู้ที่มีอำนาจทำนิติกรรมต่างๆ แทนผู้เยาว์หรือให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำนิติกรรมผู้แทนโดยชอบธรรม ได้แก่
        1) ผู้ใช้อำนาจปกครอง ก็คือ บิดา มารดา
        2) ผู้ปกครอง คือ ผู้อื่นที่มิใช่บิดา มารดา  แต่มีอำนาจตามกฎหมายในการปกครองดูแลผู้เยาว์



ผู้ใช้อานาจปกครอง




การหมั้นที่ถูกต้องตามกฎหมายต้องมีเงื่อนไขสำคัญอย่างไรบ้าง

1) ชายและหญิงต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ มิฉะนั้นการหมั้นตกเป็นโมฆะ
2) ผู้เยาว์ทำการหมั้นจะต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองด้วย
3) ต้องมีของหมั้น ขอสังเกต ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหมั้นโดยไม่ยอมสมรสด้วย  อีกฝ่ายหนึ่งจะถือเอาเป็นเหตุไปฟ้องศาลเพื่อบังคับให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาต้องทำการสมรสด้วยไม่ได้  แต่ก็มีสิทธิ์ที่จะเรียกค่าทดแทนได้  เช่น ค่าทดแทนความเสียหายต่อร่างกาย หรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น






วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โทษทางอาญาและโทษทางแพ่งแตกต่างกันอย่างไร

        กฎหมายอาญา

         1. กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน
         2. ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญา คือเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้งและไม่มีผลบังคับย้อนหลังที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด
         3. โทษทางอาญามี 5 ชนิดตั้งแต่โทษหนักสุดไปหาโทษที่เบาที่สุด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน
         4. การกระทำความผิดทางอาญามีบางกรณีที่กฎหมายยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด
         5. เด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาจได้รับโทษต่างกับการกระทำความผิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบ การลงโทษต้องคำนึงถึงอายุของเด็กกระทำความผิด

        กฎหมายแพ่ง


           กฎหมายแพ่ง  คือกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวกับครอบครัวเป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเองและครอบครัว
            โทษทางแพ่ง เช่น ปรับค่าเสียหาย  ริบมัดจำ  เรียกเบี้ยปรับ  เรียกดอกเบี้ย

กฎหมายอาญามีหลักการสำคัญอะไรบ้าง

1) ต้องมีการกระทำ และมีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติว่าเป็นความผิด  และกำหนดโทษไว้และโทษที่ผู้กระทำผิดจะได้รับต้องเป็นโทษตามกฎหมาย  จะมากำหนดโทษตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจไม่ได้  ทั้งนี้เพราะความผิดทางอาญามีการลงโทษที่รุนแรงกระทบกระเทอนถึงชีวิติ  จิตใจ  และความเป็นอยู่ของบุคคลมากหากไม่ผิดจริงแล้ว  เอาไปลงโทษถือว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง  ความสำคัญของหลักการนี้  ศาลฎีกาได้เคยกล่าวไว้ว่า "ปล่อยผู้กระทำความผิดเสียสิบคน  ยังจะดีกว่าลงโทษผู้หาผิดมิได้แม้แต่คนเดียว" หรือตามหลักกฎหมายอาญาที่เป็นหลักสากลที่ว่า "ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ หากไม่มีกฎหมาย"

2) กฎหมายอาญาไม่มีผลบังคับย้อนหลัง  การกระทำที่เป็นความผิดตามกฎหมายที่เพิ่งบัญญัติขึ้นมาที่หลังจะไม่สามารถนำไปบังคับกับการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนกฎหมายได้  อย่างไรก็ตามหากบทบัญญัตินั้นเป็นคุณกับผู้กระทำความผิดก็มีผลย้อนหลังได้

3) การตีความกฎหมายอาญาต้องมีความเคร่งครัด  หมายความว่า  การลงโทษตามการกระทำความผิดใดๆ ต้องมีกฎหมายบัญัติไว้อย่างชัดเจน  ตัวบทกฎหมายใดที่มีถ้อยคำกำกวมคลุมเครือ จนเป็นที่น่าสงสัยจะนำมาตีความเพื่อลงโทษทางอาญาไม่ได้

กฎหมายอาญาแบ่งออกเป็นกี่ภาค

กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือเป็นความผิด  และโทณที่ผู้กระทำความผิดต้องได้รับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ
        1) บทบัญญัติทั่วไป
        2) ความผิด
        3) ลหุโทษ