1) ต้องมีการกระทำ และมีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติว่าเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้และโทษที่ผู้กระทำผิดจะได้รับต้องเป็นโทษตามกฎหมาย จะมากำหนดโทษตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจไม่ได้ ทั้งนี้เพราะความผิดทางอาญามีการลงโทษที่รุนแรงกระทบกระเทอนถึงชีวิติ จิตใจ และความเป็นอยู่ของบุคคลมากหากไม่ผิดจริงแล้ว เอาไปลงโทษถือว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง ความสำคัญของหลักการนี้ ศาลฎีกาได้เคยกล่าวไว้ว่า "ปล่อยผู้กระทำความผิดเสียสิบคน ยังจะดีกว่าลงโทษผู้หาผิดมิได้แม้แต่คนเดียว" หรือตามหลักกฎหมายอาญาที่เป็นหลักสากลที่ว่า "ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ หากไม่มีกฎหมาย"
2) กฎหมายอาญาไม่มีผลบังคับย้อนหลัง การกระทำที่เป็นความผิดตามกฎหมายที่เพิ่งบัญญัติขึ้นมาที่หลังจะไม่สามารถนำไปบังคับกับการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนกฎหมายได้ อย่างไรก็ตามหากบทบัญญัตินั้นเป็นคุณกับผู้กระทำความผิดก็มีผลย้อนหลังได้
3) การตีความกฎหมายอาญาต้องมีความเคร่งครัด หมายความว่า การลงโทษตามการกระทำความผิดใดๆ ต้องมีกฎหมายบัญัติไว้อย่างชัดเจน ตัวบทกฎหมายใดที่มีถ้อยคำกำกวมคลุมเครือ จนเป็นที่น่าสงสัยจะนำมาตีความเพื่อลงโทษทางอาญาไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น