วัตถุประสงค์

ความรู้เรื่อง กฎหมาย เป็นส่วนหนึ่งของสาระหน้าที่พลเมือง และเป็นกฎหมายพิ้นฐานที่คนไทยทุกคนควรทราบและปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สินส่วนตัวและสินสมรสแตกต่างกันอย่างไร

สินส่วนตัว

         1) ทรัพย์สินที่ชายและหญิงฝายหนึ่งฝ่ายใดมีอยู่ก่อนสมรส
         2) เป็นเครื่องใช้หรือเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น เครื่องแต่งกาย  เครื่องประดับที่ผู้นั้นใช้ควรแก่ฐานะของตนและให้รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดด้วย
         3) ระหว่างการสมรสหรือขณะเป็นสามีภรรยากันอยู่นั้น  หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้มรดกหรือได้รับการให้โดยการเสน่ห์หาทรัพย์ที่ได้นั้นเป็นสินส่วนตัว
         4) ของหมั้น

สินสมรส

         1) ทรัพย์สินที่สามีและภรรยาได้มาระหว่างการสมรส  เช่น เงินเดือน  เงินโบนัส  เงินประจำตำแหน่ง
         2) สามีและภรรยาได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมยกให้โดยระบุว่าเป็นสินสมรส
         3) ดอกผลอันเพิ่มจากสินส่วนตัว  เช่น  กำไร  ค่าเช่า  เงินปันผล



ตามกฎหมายการสมรสมีเงื่อนไขสำคัญอย่างไร

          1) ชายหญิงต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์  เว้นแต่มีเหตุอันควรที่ศาลอนุญาตให้สมรสได้  หากผู้เยาว์จะทำการสมรสต้องได้รัความยินยอมจากบิดามารดา  ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครอง
          2) ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นคนวิกลจริต
          3) ชายและหญิงต้องไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงต่อกันหรือพี่น้องกัน
          4) ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
          5) ชายและหญิงจะทำการสรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้วมิได้
          6) ชายและหญิงทั้งสองคนต้องยินยอมเป็นสามีภรรยากัน
          7) หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน  นับแต่ขาดจากการสมรสเดิมได้ผ่านพ้นแล้ว

Cr.งานแต่งงานโบและเอก



ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้ปกครองแตกต่างกันอย่างไร

ผู้แทนโดยชอบธรรมคือ ผู้ที่มีอำนาจทำนิติกรรมต่างๆ แทนผู้เยาว์หรือให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำนิติกรรมผู้แทนโดยชอบธรรม ได้แก่
        1) ผู้ใช้อำนาจปกครอง ก็คือ บิดา มารดา
        2) ผู้ปกครอง คือ ผู้อื่นที่มิใช่บิดา มารดา  แต่มีอำนาจตามกฎหมายในการปกครองดูแลผู้เยาว์



ผู้ใช้อานาจปกครอง




การหมั้นที่ถูกต้องตามกฎหมายต้องมีเงื่อนไขสำคัญอย่างไรบ้าง

1) ชายและหญิงต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ มิฉะนั้นการหมั้นตกเป็นโมฆะ
2) ผู้เยาว์ทำการหมั้นจะต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองด้วย
3) ต้องมีของหมั้น ขอสังเกต ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหมั้นโดยไม่ยอมสมรสด้วย  อีกฝ่ายหนึ่งจะถือเอาเป็นเหตุไปฟ้องศาลเพื่อบังคับให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาต้องทำการสมรสด้วยไม่ได้  แต่ก็มีสิทธิ์ที่จะเรียกค่าทดแทนได้  เช่น ค่าทดแทนความเสียหายต่อร่างกาย หรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น






วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โทษทางอาญาและโทษทางแพ่งแตกต่างกันอย่างไร

        กฎหมายอาญา

         1. กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน
         2. ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญา คือเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้งและไม่มีผลบังคับย้อนหลังที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด
         3. โทษทางอาญามี 5 ชนิดตั้งแต่โทษหนักสุดไปหาโทษที่เบาที่สุด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน
         4. การกระทำความผิดทางอาญามีบางกรณีที่กฎหมายยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด
         5. เด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาจได้รับโทษต่างกับการกระทำความผิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบ การลงโทษต้องคำนึงถึงอายุของเด็กกระทำความผิด

        กฎหมายแพ่ง


           กฎหมายแพ่ง  คือกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวกับครอบครัวเป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเองและครอบครัว
            โทษทางแพ่ง เช่น ปรับค่าเสียหาย  ริบมัดจำ  เรียกเบี้ยปรับ  เรียกดอกเบี้ย

กฎหมายอาญามีหลักการสำคัญอะไรบ้าง

1) ต้องมีการกระทำ และมีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติว่าเป็นความผิด  และกำหนดโทษไว้และโทษที่ผู้กระทำผิดจะได้รับต้องเป็นโทษตามกฎหมาย  จะมากำหนดโทษตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจไม่ได้  ทั้งนี้เพราะความผิดทางอาญามีการลงโทษที่รุนแรงกระทบกระเทอนถึงชีวิติ  จิตใจ  และความเป็นอยู่ของบุคคลมากหากไม่ผิดจริงแล้ว  เอาไปลงโทษถือว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง  ความสำคัญของหลักการนี้  ศาลฎีกาได้เคยกล่าวไว้ว่า "ปล่อยผู้กระทำความผิดเสียสิบคน  ยังจะดีกว่าลงโทษผู้หาผิดมิได้แม้แต่คนเดียว" หรือตามหลักกฎหมายอาญาที่เป็นหลักสากลที่ว่า "ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ หากไม่มีกฎหมาย"

2) กฎหมายอาญาไม่มีผลบังคับย้อนหลัง  การกระทำที่เป็นความผิดตามกฎหมายที่เพิ่งบัญญัติขึ้นมาที่หลังจะไม่สามารถนำไปบังคับกับการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนกฎหมายได้  อย่างไรก็ตามหากบทบัญญัตินั้นเป็นคุณกับผู้กระทำความผิดก็มีผลย้อนหลังได้

3) การตีความกฎหมายอาญาต้องมีความเคร่งครัด  หมายความว่า  การลงโทษตามการกระทำความผิดใดๆ ต้องมีกฎหมายบัญัติไว้อย่างชัดเจน  ตัวบทกฎหมายใดที่มีถ้อยคำกำกวมคลุมเครือ จนเป็นที่น่าสงสัยจะนำมาตีความเพื่อลงโทษทางอาญาไม่ได้

กฎหมายอาญาแบ่งออกเป็นกี่ภาค

กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือเป็นความผิด  และโทณที่ผู้กระทำความผิดต้องได้รับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ
        1) บทบัญญัติทั่วไป
        2) ความผิด
        3) ลหุโทษ

ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

1) รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งไม่ได้
2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
3) พระราชบัญญัติ  ออกโดยฝ่ายบริหาร มี 2 ประเภท คือ พระราชกำหนดทั่วไป และพระราชกำหนดเงินตราและภาษีอากร
     ประมวลกฎหมาย  ออกโดยนิติบัญญัติ เป็นการรวบรวมกฎหมายเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน
4) พระราชกำหนดและพระบรมราชโองการซึ้งให้ใช้บังคับ ออกโดยฝ่ายบริหาร เช่น พระราชบัญญัติ
5) พระราชกฤษฎีกา ออกโดยฝ่ายบริหาร
6) กฎกระทรวง ออกโดยฝ่ายบริหาร
7) กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลำดับศักดิ์กฎหมาย 5 ลำดับ
วิธีการจำ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลำดับศักดิ์กฎหมาย 5 ลำดับ 




กฎหมายมีกี่ประเภท

แบ่งตามองค์กรที่จัดทำ
1.กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย กฎมณเฑียรบาล
2.กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ได้แก่ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
3.กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ ข้อบังคับตำบล ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา
4.กฎหมายที่ออกมาใช้ในกรณีพิเศษ เช่นน กฎอัยการศึก ประกาศคณะปฏิวัติ

แบ่งตามวิธีใช้
1.กฎหมายสารบัญญัติ กฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบของบุคคล เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายอาญาทหาร
2.กฎหมายวิธีสบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดวิธีการบังคับให้เป็นไปตามสิทธิหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายสารบัญญัติ เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายลักษณะพยาน  ธรรมนูญศาลทหาร

แบ่งตามความสัมพันธ์ของคู่กรณี
1.กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง ในฐานะที่รัฐมีอำนาจเหนือกว่า เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง
2.กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของบุคคลต่อบุคคลในฐารนะเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์
3.กฎหมายระหว่างประเทศ เช่น กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง แผนกคดีบุคคล แผนกคดีอาญา


วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ความแตกต่างระหว่างระบบซิวิลอว์(Civil Law) และระบบคอมมอนลอว์(Common Law)

ระบบซิวิลอว์(Civil Law) และระบบคอมมอนลอว์(Common Law) แตกต่างกันอย่างไร

        - ระบบซิวิลอว์ หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ใช้ในภาคพื้นยุโรปถือว่ากฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นที่มาของกฎหมาย คำพิพาษาของศาสนาไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย ประเทศที่ใช้กฎหมายซิวิลอว์ เช่น ไทย เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน ญี่ปุ่น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


       - ระบบคอมมอนลอว์ หรือระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายเป็นจารีตประเพณี  ถือว่าจารีตประเพณีเป็นคำพิพากษา


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง






วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กฎหมายมีลักษณะสำคัญอย่างไร

กฎหมายมีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้

          1. เป็นข้อกำหนดความประพฤติ
          2. ใช้กับบุคคลเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลก็ได้
          3. ใช้ได้ทั่วไป คือกฎหมายจะต้องใช้บังคับได้ทุกสถานที่และแก่บุคคลทั่วไปโดยเสมอภาค
          4. ใช้ได้เสมอไป คือเมื่อประกาศใช้กฎหมายใดแล้ว ต้องใช้กฎหมายนั้นบังคับได้เสมอ จนกว่าจะมีประกาศยกเลิกหรือถูกลบล้างด้วยกฎหมายใหม่ ดังสุภาษิตที่ว่า "กฎหมายนอนหลับบางคราว แต่ไม่เคยตาย" 
          5. มีอำนาจผูกพันให้บุคคลต้องปฏิบัติตาม
          6. ต้องมีกระบวนการที่แน่นอน
          7. มีสภาพบังคับ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญที่สุดของกฎหมาย เพราะทำให้กฎหมายแตกต่างจากกฎอื่นๆ ในสังคม


วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัตถุประสงค์

เว็บไซต์นี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้ศึกษาหาความรู้เรื่อง กฎหมาย ซึ่งเป็นความรู้ส่วนหนึ่งของสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม และอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม